Cosplay
Cosplay มาจากคำว่า Costume ที่แปลว่า การแต่งตัว กับ Play ที่แปลว่าเล่น เมื่อนำมารวมกันก็มาถึง การเล่นกับเสื้อผ้านั้นเอง ซึ่งเป็นศัพท์เฉพาะที่ไม่มีการบัญญัติในภาษาอังกฤษนั้น ทั้งนี้ ก็มีอีกนิยามว่า Cosplay มาจาก Costume+Roleplay ซึ่งคำว่า Roleplay นี้แปลว่า สวมบทบาท ซึ่งก็จะทำให้นิยามความหมายได้ชัดกว่าคือ "การแต่งกายสวมบทบาท" แต่นิยามให้ชัดเจนที่สุดคือ "การแต่งตัวเลียนแบบ"
เรามักจะเรียกคนแต่งตัวเช่นนี้ว่า เลเยอร์ มาจากคำหลังของคำว่า cosplayer เรียกเหลือแค่ layer สิ่งที่สำคัญที่สุดของเลเยอร์ไม่ใช่การแต่งกายที่เหมือน แต่เป็นการเลียนแบบตัวละครนั้นๆให้เหมือน เพื่อเป็นการให้เกียรติต่อตัวละครหรือต้นแบบที่เราแต่งเลียนแบบด้วย
สำหรับในไทยนั้น ที่นิยมมากที่สุด เช่น
- คอสเพลย์การ์ตูน
- คอสเพลย์เกม
- คอสเพลย์ J-Rock
- คอสเพลย์ตามศิลปิน
- คอสเพลย์ตามตัวละครซุปเปอร์ฮี่โร่
- คอสเพลย์ตามนิยาย
- คอสเพลย์ตามภาพยนตร์หรือละคร
เรามักจะเรียกคนแต่งตัวเช่นนี้ว่า เลเยอร์ มาจากคำหลังของคำว่า cosplayer เรียกเหลือแค่ layer สิ่งที่สำคัญที่สุดของเลเยอร์ไม่ใช่การแต่งกายที่เหมือน แต่เป็นการเลียนแบบตัวละครนั้นๆให้เหมือน เพื่อเป็นการให้เกียรติต่อตัวละครหรือต้นแบบที่เราแต่งเลียนแบบด้วย
สำหรับในไทยนั้น ที่นิยมมากที่สุด เช่น
- คอสเพลย์การ์ตูน
- คอสเพลย์เกม
- คอสเพลย์ J-Rock
- คอสเพลย์ตามศิลปิน
- คอสเพลย์ตามตัวละครซุปเปอร์ฮี่โร่
- คอสเพลย์ตามนิยาย
- คอสเพลย์ตามภาพยนตร์หรือละคร
cosplay ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อ 2525 ซึ่งงานดังกล่าวได้ไม่ได้มีความหมายโดยตรงกับงานคอสเพลย์ แต่เป็น"งานมหกรรมช่อง 9 การ์ตูน ส่งท้ายปี 2525 รับปีใหม่ปี 2526" ซึ่งมีการเปิดประกวดแต่งกายตัวการ์ตูน โดยมีเด็กๆได้เข้าประกวดเป็นจำนวนมาก
ต่อมาได้ขยายได้รวมถึงการแต่งตัวตาม J-Rock และ การแต่งตัวตามเกม จากการจัดงานนี้ ทำให้มีการขยายตัวมากขึ้น จนมีการจัดงานคอสเพลย์ในกรุงเทพฯ จนมาถึงต่างจังหวัด โดยงานแรกๆนั้นเป็นงานการ์ตูนของทาง ชมรมการ์ตูนเชียงใหม่ ซึ่งได้จัดงาน เชียงใหม่การ์ตูนและอนิเมชั่น ซึ่งงานที่คอสเพลย์เริ่มมีบทบาทในงานอย่างชัดเจน
ปัจจุบันได้มีความสากลมากขึ้น ถึงแม้ในประเทศไทยจะมีเป็นบางกลุ่มที่รู้จักและยอมรับ แต่ก็ยังถือว่าีคนรู้จักและร่วมมากขึ้น ปัจจุบันมีการแข่งขัน World Cosplay Summit ที่มีการนำเลเยอร์ของแต่ละประเทศไปแข่งขันการแสดงคอสเพลย์นั้นๆด้วย ซึ่งได้จัด World Cosplay Summit ในปี 2003 และประเทศไทยได้ร่วมลงแข่งขันในปี 2006 จนปัจจุบัน มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 20 ประเทศ(วัดในปี 2012) และประเทศไทยเคยได้รับรางวัลจาก World Cosplay Summit ในปี 2010 โดยเลยเยอร์ Alexis Seiz และ Por คือได้รางวัลที่ 2 และ เป็นรางวัลพิเศษจาก Brother
Por Seizแต่อย่างไรก็ตามคอสเพลย์ยังเป็นที่นิยมของคนบางกลุ่มเท่านั้น หากใครไม่ชอบหรือไม่เห็นด้วย ไม่ควรเอาไปประนาม ต่อว่า หรือว่าร้าย เพราะคอสเพลย์ไม่ได้ทำร้ายหรือทำลายใคร คอสเพลย์ถือเป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งได้ด้วย
ในวงการคอสเพลย์นั้นมีคนหลายรูปแบบดังนั้น ตัวเลยเยอร์เอง ตากล้อง หรือบุคคลอื่นๆ ก็เป็นคนเหมือนกันทั้งนั้น อย่าได้ทำในสิ่งที่ทำให้มันดูย่ำแย่ หรือสร้างปัญหาให้แก่กันเลย เพราะอย่างไรก็ดี วงการคอสเพลย์ยังต้องการเลยเยอร์ดีๆ ตากล้องดีๆ และผู้ช่วยเหลือส่งเสริมเลเยอร์เช่นกัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ ♨
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น